Uncategorized

นนทบุรี (คลิป) ร้องทนายดัง สาวร่ำไห้ซื้อที่ดินปลูกบ้านร่วม 6 ล้าน โดนคู่กรณีนำยางหล่อปูนและเสาเหล็กมาวางขวางหน้าบ้าน ขับรถเข้าออกไม่ได้

Published

on

วันที่ 8 ต.ค 67 เวลา 13.00 น. นาง วรรณวิสา(นามสมมุติ) ชื่อเล่นแหวว อายุ 50 ปี เจ้าของบ้านเลขที่ 71/12 อ.สามพราน จ.นครปฐม เดินทางมาร้องต่อทนาย รณรงค์ แก้วเพชร ที่มูลนิธิรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม หลังจากที่ถูก นาง ณภัทร (สงวนนามสกุล)หรือแหม่ม อายุ 73 ปี กับนาย ชัยยะ (สงวนนามสกุล) อดีตอัยการข้าราชการเกษียณอายุ ซึ่งเป็นสามีภรรยากัน ให้ลูกน้องนำเสาเหล็กความยาวเกือบ 1 เมตรและยางรถยนต์หล่อด้วยปูนจำนวน 2 ล้อ ล่ามโซ่ติดกัน มาวางขวางกลางประตูรั้วหน้าบ้านตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.67 จนถึงวันนี้ยังไม่สามารถนำรถออกจากบ้านได้ ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากมาก ทั้งเรื่องการเดินทางไปทำงาน เวลาเจ็บป่วยก็ไม่สามารถขับรถไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ รวมระยะเวลาที่ใช้ชีวิตแบบนี้นานกว่า 5 เดือนแล้ว โดย นาง ณภัทรและสามี อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของ โฉนดที่ดิน 21 ตร.ว. ที่เป็นถนนคอนกรีตหน้าบ้าน ซึ่งโฉนดดังกล่าว นาง ณภัทรได้ระบุว่ายินยอมให้เป็นที่ดินภาระจำยอมและให้เป็นทางสาธารณะมาก่อน แต่มาวันนี้กลับต้องการนำที่ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์และกลั่นแกล้งครอบครัวตนให้ได้รับความเดือนร้อน เคยไปร้องทุกข์กับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดนครปฐม ไม่ว่าจะเป็นกรมที่ดินจังหวัดนครปฐม ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครปฐม เจ้าหน้าที่สคบ. เจ้าหน้าที่อบต. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจก็แล้ว แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานไหนสามารถช่วยเหลือครอบครัวตนได้เลย แถมนาง ณภัทรยังข่มขู่อีกว่าหากตนย้ายเสาเหล็กและยางรถยนต์ออกจะแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ เพราะว่าเสาเหล็กและยางรถยนต์วางอยู่ในพื้นที่ของเขา

นาง วรรณวิสา(นามสมมุติ) หรือพี่แหวว เล่าว่า เมื่อประมาณ ปี 54 ตนและครอบครัวได้เข้ามาซื้อที่ดินภายในหมู่บ้านดังกล่าวนี้ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ยังเป็นที่ดินจัดสรรและมีบริษัท ชัยวรรณธุรกิจกฏหมาย จำกัด เป็นผู้ดูแลโครงการโดยมี นาง ณภัทรหรือแหม่ม เป็นหนึ่งในกรรมการบริษัท (ต่อมาบริษัทถูกฟ้องล้มละลายไปเมื่อวันที่ 27 ม.ค.54 ) หลังจากได้ซื้อที่ดินมาแล้วจึงได้มีการเตรียมพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน และได้สร้างบ้านโดยใช้เงินไปรวมๆ 6 ล้านกว่าบ้าน และเข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงปี 2562 ซึ่งระหว่างที่ตนซื้อที่ดินและสร้างบ้านหลังนี้มาเวลา 10 กว่าปี ตนและครอบครัวรวมไปถึงเพื่อนบ้านไม่เคยมีปัญหาอะไรเลย และใช้ถนนหน้าบ้านในการเข้าออกบ้าน วิ่งออกกำลังกายและเดินเล่นมาตลอด แต่ตอนนี้ คุณ ณภัทรหรือคุณแหม่มอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดังกล่าวซึ่งพื้นที่บริเวณถนนหน้าบ้านไปจนถึงกำแพงหมู่บ้านมีพื้นที่ประมาณ 21 ตร.ว.

เมื่อช่วงเดือน ก.ค.66 ชาวบ้านทราบข่าวว่า คุณแหม่มจะมีการทุบกำแพงบริเวณท้ายหมู่บ้าน โดยจะทุบกำแพงออกให้มีความกว้าง 8 เมตร ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจึงทำป้ายประกาศ”ห้ามทุบทำลายโดยเด็ดขาดมาติด” หลังจากนั้นตอนกลางคืนทางสามีของคุณแหม่มก็ได้ขับรถเข้ามาแกะป้ายประกาศออก ต่อมาวันที่ 8 พ.ย.66 ทางคุณแหม่มและสามีนำทีมงานเข้ามาพร้อมกับรถแบ็คโฮและอุปกรณ์เข้ามาภายในหมู่บ้านเพื่อจะทุบกำแพง ชาวบ้านจึงรวมตัวมาคัดค้านเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินของหมู่บ้านโดยมีกฏหมายคุ้มครองตาม พรบ.ปี2543 เรื่องการจัดสรรที่ดินและคุณแหม่มเองก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับหมู่บ้านเพราะตัวเขาเองและครอบครัวก็ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นี้ โดยอ้างว่าเขาเป็นเจ้าของที่ 21 ตร.ว.ที่อยู่หน้าบ้านของตนและกำแพงหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ดินของเขา จึงมีสิทธิ์ที่จะทุบกำแพงทิ้ง ซึ่งตนและคนในหมู่บ้านมาทราบความจริงว่ามีนายหน้าขายที่ดินมาติดต่อกับทางคุณแหม่มโดยจะขอซื้อที่ดินด้านนอกกำแพงที่เป็นสวนมีพื้นที่ประมาณ 4ไร่กว่าๆ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องทุบกำแพงหมู่บ้านตรงนี้ออกเพื่อให้สามารถใช้ถนนในหมู่บ้านเข้าออกได้ เนื่องจากพื้นที่ในสวนเป็นพื้นดินเป็นร่องน้ำ รถไม่สามารถเข้าออกได้สะดวก ทางคุณแหม่มได้คุยและตกลงกับนาง อารม ซึ่งเป็นเจ้าของที่สวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

ต่อมา วันที่ 6 มี.ค.67 คุณแหม่มได้มีเอกสารมาติดบริเวณกำแพงหมู่บ้าน โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งศาลให้สามารถทุบกำแพงได้ หลังจากนั้นวันที่ 9 เม.ย.67 ทางคุณแหม่มและสามีได้นำทีมงานและรถแบ็คโฮเข้ามาเตรียมทุบกำแพงหมู่บ้าน ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงออกมารวมตัวคัดค้านและได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาช่วยดูเหตุการณ์ ทางคุณแหม่มจึงได้เรียกเจ้าหน้าที่รังวัดจากกรมที่ดินมาเพื่อตรวจสอบและรังวัดซึ่งเจ้าหน้าที่รังวัดได้วัดมาถึงบริเวณหน้าบ้านกลางประตูรั้วของตนและได้ทำการปักหมุดแสดงพื้นที่ ต่อมาวันที่ 29 พ.ค.67 คุณแหม่มได้ให้คนนำเสาเหล็กมาปักยึดไว้อย่างแน่นหนาที่หน้าบ้านกลางประตูรั้ว ตนและครอบครองจึงให้ทนายทำเอกสารในเรื่องขอความคุ้มครองชั่วคราวให้เขานำเหล็กต้นนี้ออกแต่ศาลไม่รับฟ้อง ต่อมาวันที่ 29 ส.ค.67 คุณแหม่มได้ให้คนนำยางรถยนต์ที่หล่อด้วยปูนจำนวน 2 วง มาวางเพิ่มโดยขยับจากจุดที่ปักเสาเหล็กไว้ ขยับมากลางประตูรั้วและล่ามด้วยโซ่เหล็กไม่สามารถขยับออกได้

นาง วรรณวิสา เล่าเพิ่มเติมอีกว่า หลังจากเกิดเรื่องขึ้นตนได้ไปติดต่อตามหน่วยงานราชการต่างๆ ที่คิดว่าสามารถช่วยเหลือตนและครอบครัวได้ ไปที่กรมที่ดินเพื่อขอตรวจสอบโฉนดที่ดินของคุณแหม่มที่อ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ก็พบว่า โฉนดของคุณแหม่มมีการบันทึกถ้อยคำไว้ว่ายินยอมให้ที่ดินดังกล่าวตกเป็นภารยทรัยพ์หรือภาระจำยอม ใช้เป็นทางเดิน ทางรถยนต์และสาธารณูปโภคต่างๆ โดยไม่มีกำหนดเวลาและไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน

ตอนนี้ที่บ้านได้รัยความเดือดร้อนเป็นอย่างมากในเรื่องของการเข้าออกอยากขอความเห็นใจคุณแหม่มช่วยย้ายเสาเหล็กและล้อรถยนต์หล่อปูนออกจากหน้าบ้านตนด้วย เพราะถ้าคุณแหม่มจะแสดงความเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินนี้ คุณแหม่มสามารถเอาไปวางไว้กลางถนนในที่ดินของคุณแหม่มได้เหมือนกันและคงไม่มีใครเข้าไปทำอะไรในที่ดินนั้น แต่การที่คุณแหม่มนำเสาเหล็กและยางรถยนต์มาวางไว้หน้าประตูบ้านของตนแบบนี้ เหมือนมีเจตนากลั่นแกล้งครอบครัวตนมากกว่า ตนมีโรคประจำตัวหากมีเหตุฉุกเฉินต้องใช้รถเพื่อไปโรงพยาบาลแต่รถไม่สามารถออกจากบ้านได้ตนจะทำอย่างไร และยังมีลูกสาวอีก2คนที่กำลังเรียนอยู่ ตอนนี้ลูกสาวต้องเอารถของเขามาให้ตนใช้ เนื่องจากในหมู่บ้านค่อนข้างมืดและเปลี่ยวและทางเข้าหมู่บ้านไกลและไม่มีรถประจำทางวิ่งผ่าน ก็อยากขอความเห็นใจในเรื่องนี้

ทางด้าน ทนาย รณรงค์ กล่าวว่า จากการได้พูดคุยสอบถามข้อมูลในเบื้องต้นกับทางผู้เสียหายแล้ว ตามหลักกฏหมายแพ่งพาณิชย์ในเรื่องของทางเข้าออกที่ดินที่เป็นโฉนดแบบนี้ ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็นปัญหาในหลายๆพื้นที่และมีเกือบทุกจังหวัด ในกรณีนี้เป็นปัญหาในเรื่องทางเข้าออกที่ดินที่และถ้าเกิดว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของเอกชนแต่มันเป็นถนนโดยส่วนใหญ่ถ้ามีปัญหาแบบนี้ก็จะเป็นปัญหาตลอด ยกตัวอย่างที่เคยมีกรณีแบบนี้คือไปซื้อที่ดินมาและที่ดินบางส่วนเป็นถนน เจ้าของใหม่ก็ไม่อยากให้ใช้ถนนเพราะอยากได้พื้นที่เต็มๆ ก็อาจเกิดกรณีแบบนี้ได้ ถามว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ในที่ของตัวเองไหมก็ต้องบอกว่ามีสิทธิ์ ที่ดินของตัวเองซื้อมามีโฉนดตัวเองย่อมมีสิทธิ์แน่นอน แต่ในการใช้สิทธิ์ของคุณเนี้ยเป็นการใช้สิทธิ์ของคุณโดยกระทบสิทธิ์คนอื่นไหม ทางเข้าออกมันมีความสำคัญแต่อย่างไร
ก็ตามการที่มีทางเข้าออกและมีการวางของกีดกั้นทางเข้าออกแบบนี้ก็น่าจะอยู่ในการให้ความคุ้มครองของศาล แต่เห็นว่าศาลไม่ให้ก็แสดงว่าน่าจะมีประเด็นอื่นๆที่โต้แย้งกันอยู่ ก็คงต้องรอดูว่าผลของคดีจะเป็นอย่างไร ทางมูลนิธิฯ เองก็ได้ให้ข้อกฏหมายไปประกอบได้ประมาณนึงเพราะคดีมันอยู่ในชั้นศาลแล้ว ไม่อาจไปก้าวล่วงได้ ตนเพียงอยากจะบอกว่าในกรณีแบบนี้เจ้าของที่ดินกับคู่กรณีคุยกันได้ไหม ว่ามีทางออกอย่างอื่นอีกไหม สมมุติว่าเจาของที่ดินนี้ไม่อยากให้เขาใช้จะขายได้ไหมหรือทำจำนองได้ไหมหรือจดเป็นภาระจำยอมได้ไหมแล้วก็เสนอตัวเลขกันมาเพื่อหาทางอยู่ร่วมกัน แต่ตอนนี้อย่างไรก็ตามก็ต้องรอคำสั่งจากศาล

ภาพ/ข่าว ฉัตรมงคล สิงห์โต
ผู้สื่อข่าว จ.นนทบุรี


Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โพสต์ติดเทรนด์

Exit mobile version