ภูมิภาค

ชุมพร – กอ.รมน.ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติการสร้างฝายชะลอน้ำ ฝายมีชีวิต

Published

on

ชุมพร – กอ.รมน.ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติการสร้างฝายชะลอน้ำ ฝายมีชีวิต


เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 ม.ค.67 นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ผอ.รมน.จังหวัด ช.พ.มอบหมายให้ นายธนนท์ พรรพีภาส รอง ผวจ.ชุมพรรอง ผอ.รมน.จังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมโครงการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติการสร้างฝายชะลอน้ำ ฝายมีชีวิต ของ กอ.รมน.จังหวัด ช.พ. ประจำปี 2567ณ บ้านหน้าเขา ซอย 3 หมู่ที่ 10 ตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมี พ.อ.โชติ ยิกุสังข์
รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดชุมพร (ฝ่ายทหาร),ผู้แทน มณฑลทหารบกที่ 44, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 25, ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองชุมพร, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวิสัยเหนือ, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหินแก้ว, หัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า,หัวหน้า ไทยอาสาป้องกันชาติอำเภอเมืองชุมพร, กำนันตำบลวิสัยเหนือ, ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 10 ตำบลวิสัยเหนือ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทของหน่วยงานภาครัฐต่อการพิทักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ นำความรู้ไปสร้างการมีส่วนร่วม ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน โดยร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ในระดับพื้นที่ อาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเสริมสร้าง และแก้ไขปัญหาความมั่นคง ด้านทรัพยากรธรรมชาติในระดับชุมชนหรือตำบล ให้เกิดผล อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ สำหรับกิจกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สร้างฝายชะลอน้ำ ฝายมีชีวิต ในครั้งนี้ ดำเนินการในพื้นที่บ้านหน้าเขา ซอย 3 หมู่ที่ 10 ตำบลวิสัยเหนือ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยใช้หลักทุนปรัชญา เพื่อความมั่นคง คือ นวัตกรรมองค์ความรู้ในการสร้างการมีส่วนร่วม และพัฒนาชุมชนด้วยระบบเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคม ซึ่งประกอบด้วย ทุนปัญญา คือ ชุดครูฝายเขาค่าย จำนวน 6 คน เปรียบเหมือนปราชญ์ชุมชนทำหน้าที่ออกแบบ โครงสร้างฝายมีชีวิต บริบทที่เกื้อกูลกันของสิ่งมีชีวิต คน ต้นไม้ สัตว์น้ำ โดยการลุกขึ้นมาจัดการตนเองเรื่องน้ำโดยชุมชน เพื่อชุมชน ภายใต้ทรัพยากรที่มีเอื้อต่อวัฏจักรตามธรรมชาติ ของสิ่งมีชีวิต และความต้องการของชุมชน รูปแบบโครงสร้างของตัวฝาย มีบันไดหน้า บันไดหลัง ทำให้สัตว์น้ำสามารถว่ายไปมาได้ สัตว์น้ำ บางชนิด เมื่อถึงฤดูผสมพันธ์จะว่ายขึ้นไปผสมพันธ์ที่หน้าน้ำตัวฝ่ายที่ออกแบบเอื้อต่อสัตว์น้ำ จะทำให้สัตว์น้ำไม่สูญพันธ์ ต้นไม้ที่ปลูกบริเวณฝาย เช่น ต้นไทร เมื่อรากประสานกันจะช่วยให้ตัวฝายแข็งแรง ช่วยอุ้มน้ำและยังเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากมายทุนสังคม คือ การรวบรวมเครือข่าย เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนในพื้นที่ให้เข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ตามแผนงานที่กำหนด ประกอบด้วย กอ.รมน.จังหวัด ช.พ., มทบ.44, ป.5 พัน.25, กองร้อย อส.รักษาดินแดน จ.ชุมพร, อบต.วิสัยเหนือ, ครูและนศ.ศกร.อำเมืองชุมพร, หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชพ. 5 (อุชาน), สมาชิก ทสปช. และประชาชนจิตอาสา ต.วิสัยเหนือ เข้ามาสนับสนุนเป็นแรงกาย แรงใจ และสุดท้ายคือ ทุนทรัพย์ เป็นทรัพยากรในพื้นที่ทั้งปวง ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่มีศักยภาพด้านทุน เพื่อนำทรัพยากรมาใช้สนับสนุน ตามแผนปฏิบัติงาน ประกอบด้วย กอ.รมน.จังหวัด ช.พ. สนับสนุนอาหารและน้ำดื่ม, นายก อบต.หินแก้ว, กำนัน ต.วิสัยเหนือ, กำนัน ต.ปากแพรก และภาคเอกชน (ท่าทราย คุณอุดมศักดิ์ แดงสกล, ท่าทราย สารวัตรจิ๊บ, ท่าทราย หจก.เฉลิมการก่อสร้าง สนับสนุน ทราย รวมจำนวน 105 คิว, สมาชิก ทสปช.ต.วิสัยเหนือ สนับสนุนวัสดุเป็นเชือก, กระสอบบรรจุทราย และไม้ไผ่ กำหนดขั้นการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นเตรียมการ เป็นกระบวนการตั้งแต่การสืบสภาพปัญหาในพื้นที่การจัดประชุมกลุ่มย่อย
จนสุดท้ายนำไปสู่การจัดทำ “แผนปฏิบัติการ ป้องกันภัยในชุมชน” เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 – 30 พ.ย. 66 ขั้นปฏิบัติการ เป็นขั้นการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการป้องกันภัยชุมชน โดยทั้งสามทุนร่วมกันดำเนินการตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดเริ่ม ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 66 – 10 ม.ค. 67 และ ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลลัพธ์จากการทำกิจกรรมตาม แผนปฏิบัติการป้องกันภัยชุมชน ทั้งทางปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาการพัฒนาและปรับแผนปฏิบัติการต่อไป ดำเนินการห้วง 1 พ.ค. 67 ต่อไป
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514


Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โพสต์ติดเทรนด์

Exit mobile version