Connect with us

ภูมิภาค

ร้อยเอ็ด-เชิญชวนร่วมงาน “ของดีชายแดนใต้ & OTOP ทั่วไทย ร่วมใจสู่เมือง 101″วันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น. นางอัจฉรา ราชบุรี รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานรับมอบเงินสนับสนุนการดำเนินงานชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดร้อยเอ็ดจาก บริษัท โอทอปไทยเพื่อสังคม จำกัด จำนวน 50,000 บาท ณ โดมปรับอากาศบริเวณลานหน้าห้างโรบินสันร้อยเอ็ด อ.เมืองร้อยเอ็ด โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดร้อยเอ็ด และผู้ประกอบการ ร่วมมอบและเป็นสักขีพยานจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับบริษัท โอทอปไทยเพื่อสังคม จำกัด จัดงานมหกรรมการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ภายใต้ชื่องาน “ของดีชายแดนใต้ & OTOP ทั่วไทย ร่วมใจสู่เมือง 101” เพื่อส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) พัฒนาธุรกิจชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-20 ตุลาคม 2567 ณ โดมแอร์หน้าห้างโรบินสันร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ OTOP ได้นำสินค้ามาจำหน่าย และประชาชนได้เลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม ชม ชิม ช้อป สินค้าหัตถกรรม อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์ชุมชนหลากหลายชนิดจากทั่วประเทศ สินค้า OTOP ภาคใต้ ชิมอาหารใต้รสเด็ด และเลือกซื้อสินค้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ กิจกรรมบนเวที: มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจตลอดทั้งงาน///คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ

Published

on


Up Next

มุกดาหาร กลุ่มรักษ์นาโสก ร่วมใจพัฒนา ยื่นหนังสือสนับสนุนสร้างกังหันลมมุกดาหาร – กลุ่มรักษ์นาโสก ร่วมใจพัฒนา ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เพื่อแสดงความประสงค์ในการสนับสนุนโครงการกังหันลมที่ตำบลนาโสก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน15 10 67 ที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายแวดล้อม นาโสก ประธานกลุ่มจิตอาสา “ รักษ์นาโสก ร่วมใจพัฒนา “ พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 หมู่ 3 หมู่ 13 และหมู่ 14 ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร กว่า 200 คน เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เพื่อแสดงความประสงค์ในการสนับสนุนโครงการกังหันลม โดยมีนางสาวควีนน์ ชาชิโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดมุกดาหาร ได้ลงมารับหนังสือสนับสนุนโครงการสร้างกังหันลมดังกล่าวนางสาวไอลดา ศาลารักษ์ ตัวแทนชาวบ้านหมู่ 14 ตำบลนาโสก เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากทางชุมชนได้รับทราบว่า บริษัท พีแอนด์พี วินด์ เอ็นเนอจี้ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตในการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่หนึ่ง ในพื้นที่บ้านนาโสก ต.นาโสก อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร เพื่อดำเนินการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการกังหันลม) ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล กำลังทำการศึกษาโครงการในพื้นที่ตำบลนาโสก ในการนี้ กลุ่ม “รักษ์นาโสก ร่วมใจพัฒนา” ซึ่งส่วนมากเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว จึงได้จัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงเรียนชุมชนาโสก และได้มีความเห็นว่า ในเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเห็นชอบตรงกันว่า “โครงการกังหันลม” เป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่ชาวบ้านนาโสก ไม่ควรปล่อยให้เสียโอกาส ดังนั้นพวกเราจึงต้องออกมาแสดงจุดยืนในการการสนับสนุนโครงการกังหันลมนางสาวไอลดา ศาลารักษ์ เปิดเผยอีกว่า ภายหลังได้มีชาวบ้านบางกลุ่ม ออกมาคัดค้านโครงการฯ โดยให้เหตุผลว่า พื้นที่ของโครงการฯ ได้ทับช้อนที่ดินทำกินของชาวบ้าน, การได้รับอนุญาตของบริษัทฯ ไม่ถูกต้องตามระเบียบขั้นตอนกฎหมาย อีกทั้งยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในข้อกังวลตามที่กล่าวอ้างทางบริษัทฯ ได้ทำการแก้ไขปัญหา โดยการเข้ามาแสดงหลักฐานเพื่ออธิบาย พูดคุย เจรจา หลายครั้ง พร้อมทั้งมีการชดเชยเยียวยา ในส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับและพึ่งพอใจ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ที่อยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตร รอบโครงการฯ พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมีการนำเสนอข้อมูลแก่ชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น หากแต่ก็ยังมีชาวบ้านบางกลุ่มก็ยังคงไม่พอใจและมีความพยายามที่จะนำบุคคลภายนอกชุมชน ที่ไม่มีส่วนได้ ส่วนเสีย เข้ามาแทรกแชง ปลุกปั่น และให้ข้อมูลอันก่อให้เกิดความขัดแย้งพร้อมทั้งมีความพยามจะยกระดับปัญหาให้บานปลายขึ้นเรื่อย ๆ อนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีวิถีปฏิบัติของชุมชนชาวบ้านนาโสกแต่ดั้งเดิม มีนิสัยรักความสงบ หากเกิดปัญหาขึ้นในชุมชน แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความขัดแย้งภายในชุมชุนพวกเราคือ การให้คนในชุมชนจะทำการขอมติเสียงข้างมาก และเราทุกคนจะยอมรับในมตินั้น โดยไม่มีบุคคลภายนอกพื้นที่มาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเราขอให้ดำเนินการตรวจสอบบุคคลภายนอกพื้นที่ ที่อาจจะเข้ามาสร้างความแตกแยกวุ่นวายให้กับชุมชนของเรา เพราะโดยพื้นฐานนิสัยคนภูไท พวกเราจะรักความสงบ พี่น้องเราจะรักและให้อภัยกันเสมอ มีอะไรค่อยพูดค่อยจากัน และหาทางออกร่วมกันภายในชุมชน ในการมาแสดงจุดยืนครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการออกมาเพื่อแสดงถึงพลังและเจตนารมณ์ของชาวบ้านนาโสกอย่างแท้จริงฉะนั้นในฐานะตัวแทนของชุมชนบ้านนาโสก ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบและมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง จึงไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป เราจึงต้องออกมาเพื่อขอปกป้องสิทธิและโอกาสของชมชนฯ ที่อาจจะสูญเสียไป เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า “โครงการกังหันลม” เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ และจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนของพวกเราได้อย่างยังยืนอีกทางหนึ่ง พวกเราจึงขอส่งหนังสือแสดงความประสงค์เพื่อการสนับสนุนโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม ในพื้นที่ตำบลนาโสก ของบริษัท พีแอนด์พี วินด์ เอ็นเนอจี้ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัดนางสาวไอลดา ศาลารักษ์ เปิดเผยต่ออีกว่า ถ้ามีกังหันลมบ้านของเราจะดีขึ้น มีการพัฒนาขึ้น ถนนหนทางก็จะดีขึ้น พวกเราพร้อมที่จะสนับสนุนก้าวไปด้วยกันกับโครงการกังหันลม ที่ผ่านมาเคยเห็นมีแต่ที่อื่นบ้านเรายังไม่มี ถ้าบ้านเรามีอาจจะดีขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็คงจะดีขึ้นไปกว่านี้ หรือแม้ว่าหากเสากังหันลมจะมาตั้งอยู่ในที่ทำกินของเราจริง เราก็พร้อมสนับสนุน และทางบริษัทฯ เอง ก็พร้อมชดเชยเยียวยา ในส่วนเราก็สามารถทำกินได้ตามปกตินางสาวสายรุ่ง อุคำ ชาวบ้านนาโสก หมู่ 1 เปิดเผยว่า ในตอนเริ่มแรกตนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ออกมาคัดค้าน เพราะมีที่นาใกล้กับพื้นที่เสากังหันลม ทีแรกก็มีความคิดว่าบริษัทฯ จะมาแย่งเอาที่ดินคืนเพราะว่าที่ดินบริเวณนี้เป็นป่าสงวน ที่เราทำกินและยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ต่อมาเมื่อทางบริษัทฯ ได้มาพูดคุยอธิบายรายละเอียดโครงการฯ และมีการเจรจาเกี่ยวกับการชดเชยเยียวยา จึงได้เกิดความเข้าใจในโครงการฯ และพร้อมสนับสนุน เพราะเราก็ยังสามารถทำไรทำนาในพื้นที่ได้เหมือนเดิม อีกอย่างก็ได้มีการเดินทางไปดูโครงการกังหันลมที่ร่มเกล้ามาแล้ว ซึ่งโครงการได้สร้างมาแล้ว 6-7 ปี ชาวบ้านแถวนั้นก็ยังสามารถปลูกอ้อยได้เป็นปกติ และมีถนนหนทางที่สะดวกสบาย ในส่วนที่นาของเราเอง เนื่องจากอยู่ในที่สูงต้องอาศัยน้ำจากบนฟ้าอย่างเดียว ถ้ามีถนนในโครงการเกิดขึ้นก็จะมีร่องน้ำที่เป็นคลองข้างทาง มันก็จะเป็นผลดีกับที่นาของเราด้วยซ้ำ ในส่วนที่ว่าเสียงดัง ก็เป็นปกติ ไม่ใช่จะดังเกิน เหมือนพัดลมเบอร์ 1 เบอร์ 2 ของที่บ้าน อาจจะมีเสียงบ้างแต่ไม่ดังหนวกหูนางวาสนา นาโสก ชาวบ้านนาโสก หมู่ 14 เปิดเผยว่า เมื่อได้ทราบว่าที่ดินบริเวณของตนและญาติพี่น้อง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่พ่อแม่ และได้ทำกินมาโดยตลอด ปัจจุบันเป็นสวนมันสำปะหลังและอ้อย ได้สำรวจให้เป็นพื้นที่ตั้งกังหันต้นที่ 12 และ 13 ตนเองและครอบครัวก็รู้สึกยินดี และสนับสนุนให้โครงการฯ เกิดขึ้น เพราะเป็นโครงการฯ ที่ดี ที่จะมาสร้างความเจริญ จะได้มีถนนหนทาง และทางบริษัทฯ เองก็มีการชดเชยเยียวยา เป็นที่พอใจ จึงไม่ได้มีปัญหาอะไรด้าน นายแวดล้อม นาโสก ประธานจิตอาสา “ รักษ์นาโสก ร่วมใจพัฒนา “ กล่าวว่า พี่น้องที่มาวันนี้มีความต้องการโครงการกังหันลมจริง ๆ พวกเรามีเป้าหมายมีวัตถุประสงค์เดียวกัน ส่วนในเรื่องเสากังหันบางต้นอาจไปทับพื้นที่ของชาวบ้านนั้น คือเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพื้นที่สัมปทานเป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ใครอื่นไม่มีสิทธิ์ในพื้นที่ และเชื่อว่ากรมป่าไม้คงไม่กล้าที่จะทำผิดระเบียบกฎหมายข้อบังคับ ที่จะอนุญาตให้ทางบริษัทฯ ได้เข้าดำเนินโครงการฯ เพราะทางบริษัทฯ ได้ทำตามระเบียบและขั้นตอนตามกฎหมายทุกประการ ส่วนทางกลุ่มที่มาคัดค้านก็เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่เขาเสียไปนั้น ตนมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวมากไป จึงอยากให้มองในส่วนของการพัฒนาชุมชนส่วนรวมในพื้นที่ในรัศมีของกังหันลม เขาจะมีกองทุนสนับสนุนผ่านทางภาครัฐ เข้าสู่ชุมชุนในโอกาสต่อไปทั้งนี้บริษัท พีแอนด์พี วินด์ เอ็นเนอจี้ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งได้รับอนุญาตในการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่หนึ่ง บริเวณภูยูง ในพื้นที่บ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เพื่อดำเนินการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการกังหันลม) เป็นเวลา 30 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 383 ไร่ 3 งาน 38 ตารางวา ตั้งแต่งันที่ 4 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 3 เมษายน 2597 จำนวน 13 ต้น ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 90 เมกะวัตต์*อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร 081-5449094

Don't Miss

ชุมพร – รองแม่ทัพภาคที่ 4 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทานและงานบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดชุมพรธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 1130 น. พลตรี อนุสรณ์ โออุไร รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทานและงานบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ จังหวัดชุมพร เพื่อรับฟังแนวทางการปฏิบัติงาน ของศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดชุมพร การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งได้บูรณาการกับทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อม หากเกิดภัยพิบัติสามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร/ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดชุมพร, ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 44, รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดชุมพร, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร, จิตอาสา 904 และส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเกาะมันตรา ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดชุมพรพลตรี อนุสรณ์ โออุไร รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เพื่อติดตามและรับฟังการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน ของศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดชุมพร ซึ่งการทำงานด้านจิตอาสาภัยพิบัติ ในปี 2568 ให้เป็นไปตามนโยบายของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน โดยให้ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัด กำหนดบทบาทหน้าการทำงานของแต่ละส่วนอย่างชัดเจน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจิตอาสา เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบพร้อมกันนี้รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำ ให้ทุกส่วน เตรียมความพร้อมทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสถานที่ต่างๆ โดยใช้ศูนย์พักพิงอุ่นไอรักของจังหวัดชุมพรเป็นสถานที่ในการพักพิงและช่วยเหลือประชาชนกรณีได้รับความเดือดร้อนด้านภัยพิบัติ นอกจากนี้ อยากให้มีการใช้อาคารสถานที่ของศูนย์พักพิงอุ่นไอรักไว้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นสาธารณะประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Copyright © todaynews2017.com