Connect with us

สังคม

เด็กกตัญญู

Published

on

“น้องแทค” เยาวชนต้นแบบคนกตัญญู

พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต และภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ได้จัดโครงการ “พิพิธภัณฑ์ครุฑ ร่วมส่งเสริม สืบสาน ความซื่อสัตย์ กตัญญู ความดี สู่สถานศึกษา และเยาวชนประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖” ในการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสร้างคนกตัญญู เยาวชนต้นแบบคนกตัญญู เข้ารับโล่เกียรติคุณ พร้อมคัดเลือกผู้บริหารต้นแบบส่งเสริมโรงเรียนสร้างคนกตัญญู และครูต้นแบบส่งเสริมเยาวชนคนกตัญญู เข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ตามวัตถุประสงค์ ในบันทึกความร่วมมือด้านการขับเคลื่อนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมทักษะและ
คุณธรรม ในกลุ่มเยาวชนฯ เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะ เยาวชนไปสู่ มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ “คนดี คนเก่ง คนมี
คุณภาพ” ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – พ.ศ.๒๕๗๐) ตาม
หลัก ๕ คุณธรรมแห่งชาติ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู” พร้อมรู้คุณค่าความหมายของ “ตราพระ
ครุฑพ่าห์” ตราประจำแผ่นดินไทย สะท้อนให้เห็นถึงสถาบันหลักทั้ง ๓ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ที่พึงปรากฏมีเป็นพื้นฐานของเยาวชนคนไทยทุกคน และเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ ปี และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๙๒ ปี มหามงคล
โดยมีผลการพิจารณาคัดเลือก สถานศึกษา หน่วยงาน องค์กร บุคลากร และเยาวชน จำนวน ๖๘ รายนาม

โดย ด.ช.ณรงค์ฤทธิ์ สังสิทธิเวชย์  (น้องแทค) เยาวชนจาก โรงเรียนดลวิทยา ได้รับการพิจารณาคัดเลือก เข้ารับโล่เชิดชูเกียรติ ในฐานนะ เยาวชนต้นแบบคุณกตัญญู ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖  ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต นิคมอุตสาหกรรมบางปู ต.แพรกษาใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 

เหตุด้วยความประพฤติ อันปรากฏผลเป็นเชิงประจักษ์ ที่สอดคล้องกับหลัก ๕ คุณธรรมแห่งชาติ น้องแทค “หนุ่มน้อยหัวใจรักชาติ” จึงได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับโล่เกียรติคุณครั้งนี้

พิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ก่อตั้งขึ้นโดยเริ่มจากการที่ธนาคารธนชาตได้รวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ซึ่งธนาคารนครหลวงไทยนั้น เป็นธนาคารที่มีการดำเนินกิจการมากว่า ๗๐ ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องหมายครุฑพ่าห์หรือตราครุฑพระราชทาน ให้ธนาคารนครหลวงไทยเพื่อเป็นเครื่องแสดง ความน่าเชื่อถือทางการเงิน ตามคุณสมบัติกิจการนั้นมีฐานะการเงินดี ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ประกอบกิจการโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มาติดตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ๒๔๘๔ ซึ่งภายหลังการรวมกิจการกับธนาคารธนชาต ในปี ๒๕๕๔ ธนาคารธนชาตได้ตระหนักถึงคุณค่าและเล็งเห็นความสำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพันและความศรัทธากับคนไทย รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ของไทย จึงได้มีการอัญเชิญองค์ครุฑจากสำนักงานและสาขาต่างๆ นำไปประดิษฐานยังศูนย์ฝึกอบรมธนาคารธนชาต ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งยังเป็นความประจวบเหมาะอย่างไม่คาดคิด ที่แปลนอาคารศูนย์ฝึกอบรมมีปีก ๒ ข้าง คล้ายพญาครุฑกำลังกางปีก และก่อตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ครุฑ ร้อยเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ครุฑในรูปแบบสื่อผสมผสาน (Multimedia) โดยยึดความเข้าใจพื้นฐานของคนไทยที่มีต่อองค์ครุฑ จากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเป็นหัวใจหลัก ในพิพิธภัณฑ์ได้มีการออกแบบและสร้างสรรค์สถานที่ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงความเป็นมาของครุฑตามตำนาน ทั้งในเชิงพุทธและพราหมณ์ โดยสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ครุฑกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙” เนื่องในวโรกาสครบรอบ ๘๔ พรรษา ในปีนั้น




จากนั้นในปี ๒๕๖๔ ทีเอ็มบี ได้รวมกิจการกับธนาคารธนชาต เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต สานต่อคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยได้ปรับปรุงบูรณะพิพิธภัณฑ์ พร้อมเปิดให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ครุฑเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์จุดประกายแหล่งเรียนรู้ ต่อยอดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างยั่งยืน” 
จากนั้นในปี ๒๕๖๔ ทีเอ็มบี ได้รวมกิจการกับธนาคารธนชาต เป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต สานต่อคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยได้ปรับปรุงบูรณะพิพิธภัณฑ์ พร้อมเปิดให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ครุฑเป็นครั้งแรก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕ เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์จุดประกายแหล่งเรียนรู้ ต่อยอดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างยั่งยืน” 


Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Copyright © todaynews2017.com