ชุมพร – นายกโต้ง ถือฤกษ์ลงสมัครวันสุดท้าย สมัครรับเลือกตั้ง ตำแหน่งนายก อบจ.ชุมพร
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514
ชุมพร -นายกโต้ง ถือฤกษ์ลงสมัครวันสุดท้าย สมัครรับเลือกตั้ง ตำแหน่งนายก อบจ.ชุมพร
วันที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 8:00 น อดีตนายกอบจ. นาย นพพร อุสิทธิ์ เดินทางมาพร้อมภรรยาที่มาให้กำลังใจมากราบไหว้สักการะ ศาลหลักเมือง และเสด็จพ่อ ร. 5 หน้า อบจ. ชุมพร โดยมีประชาชนจำนวนมากและ สจ.ทุกเขต มาให้กำลังใจกันหนาแน่น สำหรับวันนี้เป็นวันสุดท้ายในการเปิดรับสมัครตำแหน่งนายก อบจ.ชุมพร บรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงตะโกนให้กำลังใจ ประชาชนนับหมื่นส่งมอบพวกมาลัย และดอกไม้ให้กำลังใจ
เวลา 9.09 น. ณ ชั้น 3 ห้องประชุมกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ อบจ.ชุมพร ต.ท่าตะเภา อ.เมือง จ.ชุมพร นายนพพร อุสิทธิ์ อดีตนายก อบจ.ชุมพร และทีมงานก็เดินทางมาถึงสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร โดยมี ว่าที่ ว่าที รต.ธีรยุทธ์ ธีระโสพิศ ปจ.อบจ.ชุมพร ปลัด อบจ.ชุมพร ปฏิบัติหน้าที่ นายกฯ อบจ.ชุมพรและเจ้าหน้าที่รับสมัครลงชิงตำแหน่ง นายก. อบจ.ชุมพร ในขณะที่ด้านล่างอาคารรับสมัคร ก็มีประชาชนและผู้สนับสนุนทีม “พลังชุมพร” มาให้กำลังใจนับพันคนจนแน่นถนนรอบอาคารที่รับสมัคร
สำหรับการรับสมัครลงชิงตำแหน่ง นายก. อบจ.ชุมพร ในวันนี้ เป็นสุดท้ายและผู้สื่อข่าวได้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับสมัคร นายก. อบจ.ชุมพร ก็ได้รับทราบว่ายังไม่มีใครมารับสมัคร เพราะได้เปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 13 – 17 สิงหาคม 2567 แต่ก็ต้องรอเวลา 16.30 น. ในวันนี้ ถึงจะสรุปได้ว่ามีผู้สมัครลงชิงชัย นายก อบจ.ชุมพร กี่คน ทำให้ นายนพพร อุสิทธิ์ ว่าที่ผู้สมัครมาสมัครเป็นท่านแรกจึงทำให้ได้หมายเลข 1 ไปในการชิงชัย นายก อบจ. ชุมพรในหนนี้
นายนพพร อุสิทธิ์ กล่าวว่า ”ผมถือฤกษ์วันที่ 17 สิงหาคม 2567 เวลา 9.09 น. ลงสมัครชิงตำแหน่ง นายก อบจ.ชุมพรในครั้งนี้ได้หมายเลข 1 ถือว่าเป็นความตั้งใจ เพราะผมเคยได้รับเสียงจากประชาชนมาแล้วครั้งที่ผ่านมา ในรอบนี้ผมจึงมีความตั้งใจที่จะมารับใช้พี่น้องชาวชุมพรอีกครั้ง เพราะยังมีงานที่คลั่งค้างอยู่และจะสอดคล้องกับนโยบายในครั้งที่แล้ว เพราะจังหวัดชุมพรยังต้องมีการพัฒนาอีกหลายๆเรื่อง ผมจึงมีความตั้งใจเสนอตัวมาลงสมัครรับเลือกตั้ง นายก อบจ.ชุมพร ในวันนี้และผมก็ได้หมายเลข 1 ก็ถือว่าเป็นเลขมงคลซึ่งผมก็ตั้งใจไว้ครับ
ส่วนการที่จะมีคู่แข่ง หรือไม่คู่แข่งนั่นก็ไม่ใช่ประเด็น เพราะผมไม่ได้อยู่กับที่ ได้ลงไปพบปะชาวบ้านมาตลอด ผมจึงคิดว่าเราแข่งกับตัวเอง เราอย่าไม่ดูถูกประชาชนเลย ส่วนที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า ลาออกจากตำแหน่ง นายก. อบจ.ชุมพร เป็นประเด็นทางการเมือง ก็มีหลายจังหวัดนะที่มีการลาออก จะใช่ หรือ ไม่ใช่ ก็อยู่ที่บริบทของจังหวัดแต่ละจังหวัด แต่ที่ชุมพรนะไม่ใช่ เพราะผมลาออกในช่วง 180 วัน ก็ต้องมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ส่วนบางคนอาจจะมองว่า เป็นการสิ้นเปลื้องงบประมาณ ผมมองว่าเราบริหารจัดการงบประมาณในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งงบประมาณปี 66 และ ปี 67 เราบริหารจนทำให้ได้เงินเหลือจ่ายมาจัดการเลือกตั้ง ซึ่งก็ไม่ได้เบียดบังงบประมาณอะไร สำหรับเหตุการณ์สูญญากาศทางการเมืองของชุมพร เราไม่มีอย่างแน่นอน เพราะเรายังมีสภาขับเคลื่อนนโยบายคอยตรวจสอบการทำงานของส่วนราชการอยู่ เช่นเดียวกัน เมื่อสภาหมดวาระ ก็ยังมีนายก อบจ.ชุมพร มาควบคุมให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อยู่ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าฤดูมรสุมเกิดเมื่อใด แต่เมื่อเกิดเหตุอย่างน้อยก็ยังมีการสั่งการได้ มีเครื่องจักร มีบุคคลากร มีการเยียวยาช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่มีข้อจำกัดของกฎหมายมาเป็นอุปสรรค์การแก้ไขปัญหาให้ประชาชนแต่อย่างใด