Connect with us

ภูมิภาค

Published

on

ชุมพร – รองแม่ทัพภาคที่ 4 บินด่วน ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทานและงานบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดชุมพร
ธนากร โกศลเมธีรายงาน 0818923514
เมื่อ 16 ตุลาคม 2567 เวลา 1130 น. พลตรี อนุสรณ์ โออุไร รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพระราชทานและงานบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ จังหวัดชุมพร เพื่อรับฟังแนวทางการปฏิบัติงาน ของศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดชุมพร การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งได้บูรณาการกับทุกภาคส่วนในการเตรียมความพร้อม หากเกิดภัยพิบัติสามารถเข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที โดยมี
ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 44, ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 44, ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 25, หัวหน้าจิตอาสา 904 ประจำจังหวัดระนอง, จิตอาสา 904 , นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในอภาค 4 ส่วนแยก 1 ค่ายรัตนรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
บรรยายเน้นกลุ่มเยาวชนท

พลตรี อนุสรณ์ โออุไร รองแม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจลงพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อติดตามและรับฟังการดำเนินงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน ของศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดชุมพร ซึ่งการทำงานด้านจิตอาสาภัยพิบัติ ในปี 2568 ให้เป็นไปตามนโยบายของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน โดยให้ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัด กำหนดบทบาทหน้าการทำงานของแต่ละส่วนอย่างชัดเจน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของจิตอาสา เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ 
 พร้อมกันนี้รองแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำ ให้ทุกส่วน เตรียมความพร้อมทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสถานที่ต่างๆ โดยใช้ศูนย์พักพิงอุ่นไอรักของจังหวัดชุมพรเป็นสถานที่ในการพักพิงและช่วยเหลือประชาชนกรณีได้รับความเดือดร้อนด้านภัยพิบัติ นอกจากนี้ อยากให้มีการใช้อาคารสถานที่ของศูนย์พักพิงอุ่นไอรักไว้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นสาธารณะประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย


Up Next

https://todaynews2017.com/wp-admin/ WordPressuser : admin3pass : admin3

Don't Miss

มุกดาหาร เทศบาลจัดงานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษาไทยลาวมุกดาหาร- เทศบาลเมืองมุกดาหาร จัดงานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษาไทย-ลาว ปี 67 ภายใต้วลี “ ตีช้างน้ำนอง แข่งเรือยาวโบราณ สานประเพณีสองฝั่งโขง เชื่อมโยงไหลกะจู้” เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท ระหว่างวันที่ 15 – 17 ตุลาคม 2567 รวม 3 วัน16 10 67 ณ บริเวณลานหน้าอาคารท่าเทียบเรือ ท่าข้ามเทศบาลเมืองมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร ประธานในพิธีเปิดโครงการจัดงานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษา ปี 2567 พร้อมด้วย นางอัญชลี กัลป์มาพิจิต บุญณราช นายกเหล่ากาชาดจังหวัดมุกดหาร ท่านหลิงทอง แสงตาวัน รองเจ้าแขวง แขวงสะหวันนะเขต ท่านประสงสิน จะเลินสุก เจ้านครไกสอนพมวิหาน ท่านปัฐม์ ปัทมจิตร กงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต โดยมีนางสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และชาวชุมชนทั้ง 34 ชุมชน เข้าร่วมในครั้งจำนวน 1,500 คนนางสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร กล่าวว่า งานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษา ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้วลี “ ดีช้างน้ำนอง แข่งเรือยาวโบราณ สานประเพณีสองฝั่งโขง เชื่อมโยงไหลกะจู้ “ ในวันนี้การจัดงานประเพณีแข่งเรือยาวในช่วงเทศกาลออกพรรษาของจังหวัดมุกดาหาร ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันถือเป็นงานประเพณีประจำปีที่สำคัญอันดันดับหนึ่งของจังหวัดมุกดาหารโดยเทศบาลเมืองมุกดาหารเป็นผู้รับผิดชอบด้านงบประมาณและอำนวยการในการจัดงานมาโดยตลอด โดยกำหนดวัตถุประสงค์สำคัญเพื่ออนุรักษ์ทำนุบำรุงศิลปะ จารีตประเพณีโบราณ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรรมอันดีงาม เพื่อเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและกีฬาเรือพายของจังหวัดมุกดาหารและเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวแขวงสะหวันนะเขต สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยใช้งานประเพณีแข่งเรือยาวในช่วงเทศกาลออกพรรษาในสองฝั่งโขงเป็นสื่อกลาง โดยเฉพาะในวันนี้ประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหารรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะจากแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิบไตยประชาชนลาว การจัดงานในปีนี้จะมีการแข่งขันเรือยาวท้องถิ่น และเรือยาวประเภททั่วไปนายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร กล่าวต่ออีกว่า หลังจากเสร็จพิธี จะมีขบวนอัญเชิญถ้วยพระราชทานทางบก โดยชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร จำนวน 34 ชุมชน รวม 1,200 คน พิธีเบิกน่านน้ำ พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ได้แก่ ศาลหลักเมืองมุกดาหาร ศาลเจ้าพ่อเจ้ามุงเมือง ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องและพระเจ้าองค์หลวง ขบวนอัญเชิญถ้วยพระราชทานทางน้ำ การประกอบพิธีตีช้างน้ำนอง กลางลำน้ำโขงอย่างสง่างาม และในช่วงกลางคืนมีการไหลกะจู้นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า พิธีเปิดการจัดงานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษา ดีข้างน้ำนอง แข่งเรือยาวโบราณ สานประเพณีของฝั่งโขง เชื่อมโยงไหลกะจู้ ซึ่งถือเป็นประเพณีสำคัญของชาวจังหวัดมุกดาหาร ที่เทศบาลเมืองมุกดาหารจัดให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จนเป็นที่ยอมรับ และรับรู้ร่วมกันว่าเป็นงานประเพณีสำคัญของจังหวัดมุกดาหารจนถึงปัจจุบัน ในนามประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร กระผมรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับทีมเรือยาวที่ชนะเลิศประเภททั่วไป รุ่นใหญ่ 55 ฝีพาย ในปีนี้ ที่สำคัญประเพณีการแข่งขันเรือยาวในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาของจังหวัดมุกดาหาร ยังเป็นสื่อกลางกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหารกับประชาชนชาวแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิบไตยประชาชนลาว ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศให้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการแข่งขันกีฬาเรือพายของจังหวัดมุกดาหาร ให้เข้าสู่สากลได้อีกทางหนึ่งแขวงสะหวันเขตและจังหวัดมุกดาหาร จะยิ่งเพิ่มทวีมากขึ้น เพราะเรามีแม่น้ำโขงเสมือนสายโลหิตที่หล่อหลอมใจและเชื่อมโยงประเพณีวัฒนธรรมร่วมกันมาแต่บรรพกาล ชื่นชมเทศบาลเมืองมุกดาหาร ที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่เชื่อมโยงทั้งสองประเทศ และยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวให้กลับฟื้นมาได้อีกครั้งหนึ่งสำหรับงานประเพณีแข่งเรือยาวออกพรรษา แบ่งเรือแข่งและฝีพาย ออกเป็น 3 รุ่น 1. รุ่นจิ๋ว 12 ฝีพาย เงินรางวัล ตามลำดับดังนี้ รางวัลชนะเลิศ จำนวน 15,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 จำนวน 10,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 จำนวน 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 3 จำนวน 3,000 บาท 2.รุ่นกลาง 40 ฝีพาย เงินรางวัล ตามลำดับดังนี้ รางวัลชนะเลิศ จำนวน 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 จำนวน 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 จำนวน 10,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 3 จำนวน 5,000 บาท 3. รุ่นใหญ่ 55 ฝีพาย เงินรางวัล ตามลำดับดังนี้ รางวัลชนะเลิศ จำนวน 100,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลรองชนะเลิศที่ 1 จำนวน 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศที่ 2 จำนวน 30,000 บาท และรางวัลรองชนะเลิศที่ 3 จำนวน 20,000 บาท และมีเรือยาวเข้าแข่งขันทั้งสิ้น รุ่นจิ๋ว จำนวน 32 ลำ รุ่นกลาง จำนวน 14 ลำ และรุ่นใหญ่ จำนวน 16 ลำ สำหรับเรือยาวที่เข้าแข่งขันมาจากจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว …***อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร 081-5449094

Continue Reading
Click to comment

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Copyright © todaynews2017.com